Australia
(ออสเตรเลีย)
วันนี้ก็กลับมาพบกันอีกควีนกันอีกแล้วนะคะ
วันนี้ควีนก็จะพาเพื่อนๆไปประเทศหนึ่งกันค่ะ เป็นประเทศที่เราอยากไปมากเลยล่ะค่ะ
นั่นก็คือ ประเทศ “ออสเตรเลีย” นั่นเองงงง ถ้างั้นก็อย่ารอช้ากันเลย
ไปกันเลยดีกว่าค่ะ
ข้อมูลทั่วไป
-การเมืองการปกครอง
ออสเตรเลียมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรูปแบบรัฐบาลเป็นสหพันธรัฐ และระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประมุขแห่งรัฐของออสเตรเลียคือพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2
โดยมีผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลียเป็นผู้แทนพระองค์ในออสเตรเลียของพระประมุขซึ่งประทับอยู่ในสหราชอาณาจักร รัฐธรรมนูญของออสเตรเลียระบุว่า
"อำนาจบริหารเป็นของสมเด็จพระราชินีนาถ
และทรงใช้อำนาจนั้นผ่านผู้สำเร็จราชการในฐานะผู้แทนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถ"
อำนาจของผู้สำเร็จราชการนั้นรวมถึงการแต่งตั้งรัฐมนตรีและผู้พิพากษา
การยุบสภา และการลงนามบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้
ผู้สำเร็จราชการยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย
-ประวัติศาสตร์ของประเทศ
การค้นพบออสเตรเลียของชาวยุโรปครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้เกิดขึ้นในปีค.ศ. 1606 เป็นเรือของชาวดัตช์ โดยกัปตัน Willem Janszoon
ทำแผนที่ชายฝั่งส่วนหนึ่งของออสเตรเลีย
ระหว่างปีค.ศ. 1606 และ ค.ศ.
1770 มีเรือของชาวยุโรปประมาณ 54 ลำจากหลายชาติเดินทางมาที่ออสเตรเลีย
ซึ่งรู้จักในขณะนั้นว่านิวฮอลแลนด์ ในปีค.ศ. 1770 เจมส์ คุก
เดินทางมาสำรวจออสเตรเลียและทำแผนที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย
และได้ประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ให้ชื่อว่านิวเซาท์เวลส์ ต่อมาสหราชอาณาจักรใช้ออสเตรเลียเป็นทัณฑนิคม
ปีค.ศ.
1851 เอดเวิร์ด ฮาร์กรีฟส์ ค้นพบสายแร่ทอง ในที่ ๆ เขาตั้งชื่อว่าโอฟีร์ (Ophir) ในนิวเซาท์เวลส์
ทำให้เกิดยุคตื่นทอง นำคนจำนวนมากเดินทางมาออสเตรเลีย ในปีค.ศ.
1901 หกอาณานิคมในออสเตรเลียรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐ ในชื่อเครือรัฐออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia)
ประกอบด้วยรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย และรัฐแทสเมเนีย
รวมหกรัฐเข้าอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหนึ่งเดียว
เฟเดอรัลแคพิทัลเทร์ริทอรีก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ.
1911 เป็นเมืองหลวงของสหพันธรัฐ จากส่วนหนึ่งของรัฐนิวเซาท์เวลส์ บริเวณแยสแคนเบอร์รา
และเริ่มดำเนินงานรัฐสภาในแคนเบอร์ราในปีค.ศ.
1927 ในปี 1911 นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี แยกตัวออกมาจากเซาท์ออสเตรเลีย
และเข้าเป็นดินแดนในกำกับของสหพันธ์ ออสเตรเลียสมัครใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมถึง 60,000 คนจากประชากรชายน้อยกว่าสามล้านคน
-ธง และ สัญลักประจำชาติ
ธงของออสเตรเลีย
สัญลักษณ์ประจำชาติ
-เพลงชาติ และ สกุลเงิน
-ภาษาราชการ
-ภาษาอังกฤษ(โดยพฤตินัย)
-ไม่ได้กำหนด
-การขับรถ
-ที่ออสเตรเลีย
จะขับรถด้านซ้ายมือ
-การเดินทางจากไทยไปออสเตรีเลีย
เมื่อมาถึงสนามบิน
-ทำการเช็คอินที่ Counterของสายการบินที่ท่านซื้อตั๋วไว้ โดยแสดงตั๋วเครื่องบิน, พาสปอร์ต, หน้าวีซ่า และบัตรสะสมไมล์(ถ้ามี) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของสายการบินทำการออกตั๋วที่นั่งและโหลดกระเป๋า (หากน้ำหนักกระเป๋าเกิน ก็จะต้องเสียเงินค่าน้ำหนักเพิ่ม หรือต้องมาเปิดกระเป๋าเพื่อเอาของที่ไม่จำเป็นออก) ท่านที่ต้องการได้ที่นั่งติดทางเดินหรือนั่งติดหน้าต่างก็สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ของสายการบินว่าพอจะมีที่นั่งตามที่ท่านต้องการว่างอยู่บ้างหรือไม่
-ทำการเช็คอินที่ Counterของสายการบินที่ท่านซื้อตั๋วไว้ โดยแสดงตั๋วเครื่องบิน, พาสปอร์ต, หน้าวีซ่า และบัตรสะสมไมล์(ถ้ามี) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของสายการบินทำการออกตั๋วที่นั่งและโหลดกระเป๋า (หากน้ำหนักกระเป๋าเกิน ก็จะต้องเสียเงินค่าน้ำหนักเพิ่ม หรือต้องมาเปิดกระเป๋าเพื่อเอาของที่ไม่จำเป็นออก) ท่านที่ต้องการได้ที่นั่งติดทางเดินหรือนั่งติดหน้าต่างก็สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ของสายการบินว่าพอจะมีที่นั่งตามที่ท่านต้องการว่างอยู่บ้างหรือไม่
- พอได้ตั๋วที่นั่งแล้ว
ขั้นตอนต่อไปคือต้องไปแสดงเอกสาร
(ตั๋วที่นั่งและพาสปอร์ต)ให้แก่ด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.)
ซึ่งอยู่ด้านในของสนามบิน (เข้าไปได้เฉพาะผู้ที่จะเดินทางเท่านั้น)
ถ้าโชคร้ายไปเจอช่วงกรุ๊ปทัวร์เยอะๆ และอาจจะเจอคิวที่ยาวมาก
จึงควรที่จะรีบเข้าไปแต่เนิ่นๆ
- เมื่อผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเรียบร้อยแล้ว
ก็จะเจอร้านค้าปลอดภาษีมากมาย (Duty Free Shop) ท่านที่ต้องการซื้อสินค้าแนะนำว่าควรจะทำบัตรสมาชิกไว้ลดราคาค่าสินค้า
แต่อย่าช้อปจนเพลินเพราะสนามบินสุวรรณภูมิเป็นสนามบินที่ใหญ่มาก
ท่านอาจใช้เวลานานกว่าจะเดินไปถึงทางขึ้นเครื่องบิน
- เมื่อถึงเวลาขึ้นเครื่อง
(Boarding Time) ก็แสดงตั๋วที่นั่งพร้อมกับพาสปอร์ตให้แก่เจ้าหน้าที่สายการบิน
และเดินเข้าไปในเครื่องบินเพื่อนั่งที่นั่งตามตั๋วที่นั่งที่ได้
-การเดินทางภายในประเทศ
การเดินทาง
การเดินทางภายในเมืองใหญ่มีความรวดเร็ว สะดวกและราคาถูก เพื่อประหยัดเงินคุณสามารถซื้อบัตรเดินทาง ซึ่งใช้โดยสารบริการขนส่งมวลชนได้ทุกประเภททั้งรถประจำทาง รถไฟ รถรางและเรือข้ามฟาก
แท็กซี่ภายในเมืองมีค่าบริการที่ไม่แพงจนเกินไป หลายๆคนเลือกใช้บริการแท็กซี่สำหรับการเดินทางระยะทางสั้นๆ
ในกรณีที่คุณจะเดินทางระหว่างรัฐหรือไปในที่ห่างไกล คุณสามารถเลือกใช้บริการรถประจำทางระยะไกลซึ่งมีความสะดวกสบายและราคาถูก หากคุณเร่งรีบหรือต้องการโดยสารเครื่องบินก็มีสายการบินต้นทุนต่ำหลายสายที่ให้บริการในหลายเส้นทาง อาทิเช่น Virgin Blue, Jet Star, Qantas และ Tiger Airways ที่มีบริการเส้นทางบินจากเมืองใหญ่ๆทุกเมือง
บัตรเดินทางและการประหยัดค่าเดินทาง

นอกจากนี้คุณอาจซื้อบัตร ISIC card ซึ่งจะช่วยให้คุณได้รับส่วนลดจากตัวแทนท่องเที่ยวและร้านค้าต่างๆในประเทศออสเตรเลีย
การเดินทางในเมือง
หากคุณต้องการเดินทางท่องเที่ยวภายในเมืองใดเมืองหนึ่งของออสเตรเลียเป็นเวลาหนึ่งหรือสองวัน คุณสามารถซื้อตั๋วโดยสารวันเดียว ซึ่งรวมบริการขนส่งมวลชนทุกประเภทและช่วยให้คุณประหยัดกว่าการจ่ายค่าโดยสารเป็นรายครั้ง
หากคุณต้องการเดินทางท่องเที่ยวภายในเมืองใดเมืองหนึ่งของออสเตรเลียเป็นเวลาหนึ่งหรือสองวัน คุณสามารถซื้อตั๋วโดยสารวันเดียว ซึ่งรวมบริการขนส่งมวลชนทุกประเภทและช่วยให้คุณประหยัดกว่าการจ่ายค่าโดยสารเป็นรายครั้ง
สถานที่ท่องเที่ยว
ที่ออสเตรเลียก็มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายเลยล่ะค่ะ
เราก็จะมายกตัวอย่างที่ๆน่าสนใจให้ไว้สัก 2-3 ที่นะคะ ตามไปดูกันเลยค่ะ
ที่แรกได้แก่ บอนไดบีช (Bondi Beach)
ชายหาดบอนไดเป็นชายหาดที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งไม่เพียงแต่ในออสเตรเลียเท่านั้นแต่ทั่วโลก หาดนี้สามารถเดินทางไปถึงได้ง่ายโดยรถประจำทางจากตัวเมืองซิดนีย์ และยังเป็นจุดพักผ่อนยอดนิยมในท้องถิ่นทั้งสำหรับการเล่นกระดานโต้คลื่น
ว่ายน้ำและอาบแดด ชายหาดที่เป็นสวรรค์สำหรับการออกมาดูผู้คนทำกิจกรรมนี้ยังมีพื้นที่สวนสาธารณะด้านหลังที่มีนักเล่นโรลเลอร์เบลดและสเก็ตมาโชว์ทักษะการเล่นให้ได้ชมกันอีกด้วย
ที่ต่อไป
คือ ซิดนีย์โอเปร่าเฮาส์ (Sydney Opera House)
การเดินทางมาเที่ยวซิดนีย์คงยังไม่สมบูรณ์หากไม่ได้ไปขม
ซิดนีย์โอเปร่าเฮาส์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของออสเตรเลียที่รู้จักกันทั่วโลกอย่างไม่ต้องสงสัย เพื่อนๆสามารถแค่ถ่ายรูปภาพอาคารทรงใบเรือที่มีชื่อเสียง
เข้าไปนั่งฟังโอเปร่า หรือชมดอกไม้ไฟจากเรือในท่าเรือซิดนีย์ตอนเที่ยงคืนในคืนก่อนปีใหม่ก็ได้
และที่สุดท้ายที่จะมาแนะนำก็คือ
เกาะจิงโจ้
ชมพืชพันธุ์สัตว์ป่าตามธรรมชาติในถิ่นที่อยู่ตามระบบนิเวศน์ของเกาะแกงการู
(Kangaroo Island)ทั้งจิงโจ้ โคอาล่า วอลลาบี เพนกวิน
ตัวกินมดหนาม และนกต่างถือว่าเกาะแห่งนี้เป็นบ้าน
เดินเล่นท่ามกลางฝูงสิงโตทะเลพันธุ์ออสเตรเลียที่ใกล้จะสูญพันธ์ที่อ่าว Seal
ชมโคอาล่าขี้เซาบนต้นไม้ เพลินกับผลผลิตภัณฑ์สดจากไร่ให้เต็มอิ่ม
ไม่ว่าจะเป็นน้ำผึ้ง Ligurian จนถึงไก่ที่เลี้ยงอย่างอิสระและไข่ไก่
ไวน์จากผู้ปลูกองุ่น 30 ราย ในบริเวณตั้งแต่แหลมวิลละบี (Cape
Willoughby) ไปจนถึงเมืองคิงส์โคต (Kingscote)
เกาะแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยทัศนียภาพที่งดงามจนแทบลืมหายใจ
หน้าผาเลียบชายฝั่งที่ขรุขระ อ่าวปลอดคลื่นลมที่อยู่ระหว่างแหลมอันสูงชัน ป่าธรรมชาติที่กว้างใหญ่
และเนินเขาน้อยใหญ่ของพื้นที่เพาะปลูกเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภูมิประเทศที่งดงามจนแทบลืมหายใจนี้เท่านั้น
Remarkable Rocks และ Admirals Arch เป็นสองจุดสังเกตย่านชายฝั่งที่มีเสน่ห์มากที่สุดของออสเตรเลีย เล่นน้ำบนหาดห่างไกลผู้คนที่อ่าว Stokes โต้คลื่นที่อ่าว Vivonne และตกปลาในอ่าวอีมู Emu มุ่งหน้าสู่ถ้ำใต้ดินในเขตอนุรักษ์ Kelly Hill และดื่มด่ำไปกับผืนป่าธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติ Flinders Chase ด้วยที่พักที่มีอยู่หลากหลายตั้งแต่รีสอร์ตบนยอดเขาระดับห้าดาว ไปจนถึงโรงแรมและที่พักแบบเรียบง่าย เพื่อนๆทุกคนจึงไม่ควรพลาดที่จะมาที่ 'KI' นะคะ
Remarkable Rocks และ Admirals Arch เป็นสองจุดสังเกตย่านชายฝั่งที่มีเสน่ห์มากที่สุดของออสเตรเลีย เล่นน้ำบนหาดห่างไกลผู้คนที่อ่าว Stokes โต้คลื่นที่อ่าว Vivonne และตกปลาในอ่าวอีมู Emu มุ่งหน้าสู่ถ้ำใต้ดินในเขตอนุรักษ์ Kelly Hill และดื่มด่ำไปกับผืนป่าธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติ Flinders Chase ด้วยที่พักที่มีอยู่หลากหลายตั้งแต่รีสอร์ตบนยอดเขาระดับห้าดาว ไปจนถึงโรงแรมและที่พักแบบเรียบง่าย เพื่อนๆทุกคนจึงไม่ควรพลาดที่จะมาที่ 'KI' นะคะ
วัฒนธรรม
ตามสุภาษิตไทยเลยค่ะ เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม การที่เราจะไปท่องเที่ยวที่ไหน เราก็ควรที่จะรู้เรื่องวัตณธรรมความเป็นอยู่ และประเพณีของที่ๆนั้นไว้ด้วย เพื่อให้ไม่เสียมารยาทนะคะ
การปฏิบัติตน
• การเรียกชื่อคนอื่น – ปกติแล้วชาวออสเตรเลียจะมีสองชื่อ – นั่นก็คือชื่อตัวเอง (ชื่อ) กับชื่อครอบครัว (นามสกุล) ปกติแล้วสำหรับคนที่อายุเท่ากันหรืออ่อนกว่าให้คุณเรียกชื่อ ส่วนคนที่อายุแก่กว่าคุณ ให้คุณเรียกว่า Mr. Mrs. หรือ Ms. ตามด้วยนามสกุล จนกว่าคุณจะสนิทกันดีหรือจนกว่าเขาจะบอกให้คุณเรียกชื่อ
• การทักทาย - Good morning, Good afternoon, Good day หรือ How do you do? เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการ ส่วนคำทักทายแบบไม่เป็นทางการคือ hello หรือ hi
• G’day – เป็นการทักทายแบบออสเตรเลียแบบโบราณและไม่เป็นทางการ (ย่อมาจากคำว่า “Good day”)
• การใช้คำว่า Excuse me, Please และ Thank you – Excuse me จะใช้มากที่สุดเวลาที่คุณคุยกับคนที่ไม่คาดว่าคุณจะคุยกับเขา และตอนที่คุณเข้าร่วมกับกลุ่มคนที่กำลังคุยกันอยู่ ส่วน Please ใช้เวลาร้องขอบางสิ่งบางอย่าง คำว่า Thank you จะใช้เวลาที่คุณได้รับอะไรบางอย่าง
• การสบตา – ไม่ว่าคุณจะมีสถานะทางสังคมแบบไหนหรืออายุเท่าไหร่ ชาวออสเตรเลียชอบสบตากันโดยตรงเวลาสนทนา
• การเว้นระยะ – ชาวออสเตรเลียชอบเว้นระยะส่วนตัวพอประมาณระหว่างคู่สนทนา การยืนใกล้เกินกว่าหนึ่งเมตรจากคู่สนทนานั้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด โดยไม่จำเป็น
• การแต่งกาย – ชาวออสเตรเลียมักจะแต่งกายออกแนวสบายๆ ถ้าหากต้องแต่งกายแบบเป็นทางการกว่าปกติ เขาก็มักจะแจ้งคุณให้ทราบ
• การเข้าคิว – คนจะเข้าคิวเวลาที่รออะไรบางอย่าง (อย่างเช่นแท็กซี่ รถประจำทาง และเคาน์เตอร์ขายตั๋วหรือแคชเชียร์คิดเงิน) อย่าผลักคนข้างหน้าและอย่าแซงคิว - ชาวออสเตรเลียจะไม่ทนต่อพฤติกรรมเช่นนี้เด็ดขาด
• การตรงต่อเวลา – ห้ามมาสาย หากคุณไม่สามารถมาตามนัดหรือคำเชิญ หรือมีแนวโน้มว่าจะสาย ให้โทรแจ้งก่อนถึงเวลานัด
• การสูบบุหรี่ – ห้ามสูบบุหรี่ในอาคารของรัฐบาลและระบบขนส่งสาธารณะอย่างเช่นเที่ยวบินใน ประเทศและนานาชาติ ปัจจุบันเราห้ามสูบบุหรี่ในร้านอาหารและสถานที่จัดงานเลี้ยง (Licensed venues) เกือบทุกแห่ง ผู้มางานจะต้องออกไปนอกบริเวณหากต้องการสูบบุหรี่ หากคุณไปเยี่ยมบ้านเพื่อนหรือญาติ ก็ให้ขออนุญาตก่อนการสูบบุหรี่ทุกครั้ง
• การถ่มน้ำลาย – การถ่มน้ำลายในที่สาธารณะเป็นเรื่องไม่เหมาะสมและอาจทำให้ผู้อื่นไม่พอใจได้
• การทิ้งขยะ – ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม การทิ้งขยะในที่สาธารณะเป็นเรื่องไม่สมควร หากคุณทิ้งขยะในที่สาธารณะ คุณอาจถูกปรับได้ และ
• มารยาทบนโต๊ะอาหาร – คุณสามารถใช้นิ้วหยิบอาหารได้ในมื้ออาหารแบบไม่เป็นทางการ อย่างเช่นระหว่างการปิกนิก การปิ้งบาร์บีคิว หรือระหว่างกินอาหารแบบเอากลับไปกินนอกร้าน อย่างไรก็ตาม คุณต้องใช้ช้อนส้อมหากเป็นการทานที่ร้านอาหาร หากคุณไม่รู้ว่าจะใช้อุปกรณ์ใดกับอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง ก็ให้ถามหรือทำตามคนอื่นๆ
เทศกาลที่ไม่ควรพลาด
นั่นก็คือ Melbourne Food and Wine Festival, Victoria
ในเทศกาลนี้คุณจะได้ดื่มด่ำกับอาหารและไวน์ชั้นเยี่ยมที่ผ่านการคัดสรรมาเป็นอย่างดีจากทั่วภูมิภาคของออสเตรเลีย
รวมถึงอาหารขึ้นชื่อของรัฐวิคตอเรียซึ่งเป็นสถานที่หลักในการจัดงานด้วย
ระยะเวลาการจัดงานส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม
อย่างงานครั้งล่าสุดที่ผ่านมาก็จัดขึ้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 16 มีนาคม 2014 มีบรรดานักชิมทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นตบเท้ามาเข้าร่วมงานมากถึง
300,000 คน
ผู้ที่ริเริ่มจัดงานนี้คือ Peter Clemenger จัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1993
เทศกาลนี้มีไฮไลท์อยู่ที่การนั่งชิมอาหารแสนอร่อยในบรรยากาศสวนร่มรื่น
ซึ่งรองรับนักชิมได้มากถึง 1,200 ที่นั่ง
อีกทั้งยังมีเวิร์คชอปสอนทำอาหารสำหรับเด็ก สำหรับผู้ใหญ่
จัดเสวนาแบ่งปันความรู้ต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น การชิมไวน์ ประเภทของวัตถุดิบต่างๆ
เคล็ดลับในการปรุงอาหารจากพ่อครัวชั้นนำของโลก
และงานกาล่าดินเนอร์สุดหรูในบริเวณสถานที่หลักของการจัดงาน นอกจากนี้ตามตรอกซอกซอย
บาร์ใต้ดิน ดาดฟ้า ของรัฐวิกตอเรีย ก็มีร้านอาหารอีกกว่า 300 แห่ง ที่จัดอีเวนท์พิเศษเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลเช่นกัน
เรียกว่าเป็นเทศกาลยิ่งใหญ่ที่คนรักอาหารไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง!
การศึกษา
การศึกษาภาคบังคับของออสเตรเลียเริ่มตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 10 (Year 1-10) หรือ ระหว่างอายุ 6-15 ปี เมื่อนักเรียนจบการศึกษาภาคบังคับแล้ว ก็สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงาน
ฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือกิจการในภาคธุรกิจเอกชนต่างๆ ได้
หรืออาจศึกษาต่อหลักสูตรระยะสั้น ในวิทยาลัย TAFE หลังจากจบการศึกษาภาคบังคับแล้ว
นักเรียน ส่วนใหญ่เลือกเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอีก 2 ปี เพื่อเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัย และวิทยาลัยเทคนิคในระดับอุดมศึกษา สำหรับนักศึกษาต่างชาติสามารถสมัครเข้าเรียนได้ตั้ง แต่ระดับประถมศึกษา จนถึงระดับปริญญาเอก ทั้งในสถาบัน การศึกษาของรัฐและเอกชน
การศึกษาระดับมัธยม
(Secondary Education)
ระดับมัธยมศึกษาแบ่งออกเป็นมัธยมศึกษาตอนต้น (Year
7-10 หรือเทียบเท่า ม.1 - ม.4 ของไทย) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (Year 11-12 หรือเทียบเท่า
ม.5 - ม.6 ของไทย) ในการจัดหลักสูตร หน่วยการศึกษาของแต่ละรัฐ จะมีการจัดหลักสูตรและการประเมินผลเป็นของตนเอง โรงเรียนมีอิสระในการจัดหลักสูตรหรือเพิ่มเติมวิชาเรียน ทั้งนี้ต้องอยู่ในความเห็นชอบจากรัฐบาล
มาตรฐานของหลักสูตรจะอยู่ในระดับที่ดี ทัดเทียมกันในทุกรัฐ
โดยจัดให้มีการสอบมาตรฐานสำหรับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเป็นโรงเรียนแบบ Day School คือ
ไปเช้าเย็นกลับ ในขณะที่โรงเรียนเอกชนจะมีแบบโรงเรียนประจำ
(Boarding School) และไปกลับ นอกจากนี้ ยังแบ่งเป็นโรงเรียนหญิงล้วน หรือชายล้วนและโรงเรียน สหศึกษาคือ มีทั้งนักเรียนหญิงชายเรียนร่วมกัน
วิชาที่เปิดสอน
วิชาในระดับมัธยมปลายประกอบด้วยวิชาต่างๆ อาทิ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วรรณคดีอังกฤษ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศึกษา กฎหมาย คอมพิวเตอร์ การสื่อสาร เป็นต้น โดยทั่วไปนักเรียนจะเลือกเรียนวิชาหลัก สี่หรือห้าวิชา ซึ่งเป็นวิชาที่สัมพันธ์กับสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษา คะแนนที่ได้ในระดับ Year 11, Year 12 นี้มีความสำคัญมาก ในการเลือกอันดับมหาวิทยาลัย และสาขาที่นักเรียนจะเรียน เนื่องจากมหาวิทยาลัยไม่มีระบบการสอบเข้าที่เรียกว่า Entrance Examination การรับนักเรียนเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย จึงกำหนดจากคะแนนเฉลี่ยระหว่างการสอบปลายภาค ที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการศึกษากลางของรัฐ และคะแนนประเมินผลจากโรงเรียน
วิชาในระดับมัธยมปลายประกอบด้วยวิชาต่างๆ อาทิ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วรรณคดีอังกฤษ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศึกษา กฎหมาย คอมพิวเตอร์ การสื่อสาร เป็นต้น โดยทั่วไปนักเรียนจะเลือกเรียนวิชาหลัก สี่หรือห้าวิชา ซึ่งเป็นวิชาที่สัมพันธ์กับสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษา คะแนนที่ได้ในระดับ Year 11, Year 12 นี้มีความสำคัญมาก ในการเลือกอันดับมหาวิทยาลัย และสาขาที่นักเรียนจะเรียน เนื่องจากมหาวิทยาลัยไม่มีระบบการสอบเข้าที่เรียกว่า Entrance Examination การรับนักเรียนเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย จึงกำหนดจากคะแนนเฉลี่ยระหว่างการสอบปลายภาค ที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการศึกษากลางของรัฐ และคะแนนประเมินผลจากโรงเรียน
หลักสูตรเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย
(Foundation Studies)
เป็นหลักสูตรเตรียมความพร้อมในการเรียนต่อระดับ อุดมศึกษาในออสเตรเลียให้กับนักเรียนต่างชาติใช้เวลาในการเรียน 1 ปี เนื้อหาของหลักสูตรมาจาก Year
11-12 บวก วิชาพื้นฐานในสาขาที่นักศึกษาจะศึกษาในระดับปริญญาตรี
เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ
คอมพิวเตอร์ ธุรกิจ บัญชี สังคมและประวัติศาสตร์ เป็นต้น หลักสูตร Foundation แบ่งออกเป็น สายวิทย์
สายศิลป์ และธุรกิจ ก่อนเข้าเรียนนักศึกษาจากประเทศไทยจะต้องจบชั้นปีที่ 11 หรือ ม.6 หรือ ปวช. มีผลIELTS ประมาณ 5.0 หรือ TOEFL ประมาณ 500 ขึ้นไป GPA ไม่ควรต่ำกว่า 2.5 ถ้าสอบผ่านทุกวิชาของหลักสูตร Foundation ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดก็สามารถจะเรียนต่อในระดับปริญญาตรีได้เลย สำหรับ
นักศึกษาที่จบปีที่ 1 ในระดับปริญญาตรีในประเทศไทยแล้ว สามารถสมัครเรียนระดับปริญญาตรีได้โดยไม่ต้องเรียนหลักสูตร Foundation หลักสูตรนี้เปิดสอนทั้งในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย เทคนิค (TAFE) และในโรงเรียนมัธยมศึกษา ค่าใช้จ่ายสำหรับ นักเรียนทุนส่วนตัวค่าเล่าเรียนประมาณปีละ 9,000
- 12,000 เหรียญออสเตรเลีย
มหาวิทยาลัย (University)
ปัจจุบันออสเตรเลียมีมหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยี และวิทยาลัย ซึ่งได้รับการยกระดับวิทยฐานะเป็นมหาวิทยาลัย รวมทั้งหมด 39 แห่งทั่วประเทศ คุณภาพได้มาตรฐานเทียบเท่า
มหาวิทยาลัยชั้นดีของประเทศอังกฤษ แคนาดา และอเมริกา
มหาวิทยาลัยเป็นของรัฐบาลทั้งหมด ยกเว้น Bond University และ The University of Notre Dame ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า ออสเตรเลียไม่มีระบบเอ็นทรานซ์เพื่อเข้ามหาวิทยาลัย
การรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี พิจารณาจากผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษา ในกรณีที่เป็นนักเรียนต่างชาติก็พิจารณาจากผลการเรียนในระดับมัธยมปลาย มหาวิทยาลัยอาจกำหนดคุณสมบัติในการเข้าเรียนระดับ แตกต่างกันไป เช่น ในกรณีประเทศไทยบางสถาบันอาจพิจารณารับผู้ที่จบปี 1 ใน ระดับมหาวิทยาลัยแล้วเท่านั้น
นอกจากนี้ สถานศึกษาทั่วไปของออสเตรเลียยังไม่ยอมรับผลการสอบเทียบในประเทศไทยเว้นแต่จะได้เกรด2.5 ขึ้นไป หลายสถาบันเปิดหลักสูตรการเตรียมเข้ามหาวิทยาลัยสำหรับผู้ที่ประสงค์จะเข้าสถาบันนั้นๆ แต่มีคุณสมบัติไม่เพียงพอ
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรสำหรับนักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะ ใช้เวลาศึกษา 1 ปี หากนักศึกษา
สามารถสอบผ่านปีพื้นฐานได้ ก็จะได้รับการตอบรับเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีตามสาขาที่เลือกไว้
ปริญญาโท (Master's Degree)
ใช้ระยะเวลาศึกษา 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาและลักษณะการเรียน
ระบบการเรียนมี 3 ลักษณะ คือ
1. Coursework เป็นการเรียนแบบเข้าฟังคำบรรยาย
2. Thesis เป็นการเรียนแบบเขียนวิทยานิพนธ์
3. Coursework and Thesis เป็นการเรียนผสมผสาน
ระหว่างการเข้าฟังคำบรรยายและการเขียนวิทยานิพนธ์ บางสถาบันอนุญาตให้นักศึกษาเลือกอัตราส่วนระหว่างการเรียน สองแบบ เช่น นักศึกษาอาจจะเลือก Coursework 50% และ Thesis อีก 50% หรือ อัตราส่วนระหว่างCoursework และ Thesis เป็น 70%-30% บางสาขา โดยเฉพาะ MBA รับผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีสาขาใดก็ได้
แต่จะต้องมีประสบการณ์การ ทำงานอย่างน้อย 1-2 ปี
ในกรณีที่จบปริญญาตรีมาสาขาหนึ่ง และต้องการเรียนต่อปริญญาโทอีกสาขาหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยอาจให้ทดลองเรียน 1 ปีก่อน
ซึ่งเรียกว่า Master Qualifying ต้องมีผลสอบเป็นที่น่าพอใจจึงจะสามารถเรียนต่อไปในระดับ
ปริญญาโทได้
ปริญญาเอก (Doctoral Degree)
ระยะเวลาศึกษาประมาณ 3-5 ปี เป็นหลักสูตรวิจัยค้นคว้า คือเขียนวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว ขณะนี้บางมหาวิทยาลัยพิจารณาเพิ่มหลักสูตร Coursework เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนระดับปริญญาเอกนี้ด้วย แต่ยังเป็นส่วนน้อย ผู้ที่จะเรียนระดับปริญญาเอกจึงควรมีพื้นฐานการทำวิจัยในระดับปริญญาโทมาก่อน
ประวัติเจ้าของเว็บ
ชื่อ นางสาว ฐานิสา พฤฒารา ชื่อเล่น คิตตี้
อายุ 16 ปี เกิดวันที่ 20 มกราคม 2545 กรุ๊ปเลือด AB
นามปากกา ควีน.ที( Queen.T )
การศึกษา จบประถมศึกษา1-6 ที่ โรงเรียนวัดถั่วทอง
จบมัธยมศึกษาตอนต้น ที่
โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง
ปัจจุบันกำลังศึกษา ในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่5 ห้อง 2
ที่โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง
ที่อยู่ 125/471 ต.บ้านปทุม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 12160
อาชีพในฝัน วิศวกร อิเล็กทรอนิกส์
คณะที่ต้องการเข้าศึกษาต่อ วิศวกรรมศาสตร์ สาขา อิเล็กทรอนิกส์
มหาวิทยาลัยที่ต้องการเข้าศึกษาต่อ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
นิสัย ร่าเริง ขี้เล่น อารมณ์ขึ้นๆลง ชอบความสนุกสนาน
อาหารที่ชอบ สเต็กไก่ ส้มตำ สัตว์ที่ชอบ
สุนัข แมว
ดารา ไอดอล ที่ชอบ บังทันโซยอนดัน(BTS) หนังสือที่ชอบ ทุกประเภทขอให้อ่านออก
ข้อมูลการติดต่อ
Facebook : Thanisa Pluttara
IG : thanisa246
Email : lovely_day5@hotmail.com
#ขอขอบคุณข้อมูลจากทางวีกิพีเดีย และ จากเว็บเพจข้อมูลออสเตรเลีย
#ขอขอบคุณรูปภาพสวยๆจากอินเตอร์เน็ต
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น